รถเข็นของฉัน

Blog

 

น้ำยาแอร์ คือ สารทำความเย็น (Refrigerant) เป็นสารประกอบที่โดยทั่วไปอยู่ในสถานะของเหลว แต่สามารถเปลี่ยนไปเป็นแก๊สและเปลี่ยนกลับมาเป็นของเหลวเหมือนเดิม แต่เราอาจจะนิยามให้แคบเข้ามาอีกหน่อยว่า น้ำยาแอร์ คือ สารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะของเหลว ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนจากภายในระบบนำออกไปสู่ภายนอก (ห้อง)

 

 

http://www.twc-aircenter.com/refrigerant.html

 

เมื่อเครื่องปรับอากาศทำงาน คอมเพรสเซอร์จะทำการอัดฉีดสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์เข้าสู่ระบบผ่านทางท่อฝั่ง Liquid / Discharge Line น้ำยาแอร์ซึ่งอยู่ในสถานะแก๊สจะมีอุณหภูมิสูงและแรงดันสูง ต่อมาจึงเข้าสู่กระบวนการลดอุณหภูมิลงด้วยตัวคอนเด็นเซอร์ เป็นการนำความร้อนที่ผ่านมากับตัวน้ำยาแอร์มากำจัดสู่ภายนอก เมื่อน้ำยาแอร์เย็นลงก็จะกลับสู่สถานะของเหลวที่มีแรงดันสูงอีกครั้ง จากนั้นเมื่อผ่านตัว Expansion Valve น้ำยาแอร์ก็จะถูกลดแรงดันลง และเมื่อแรงดันลดลง น้ำยาแอร์ก็จะเปลี่ยนจากร้อนกลายเป็นเย็น วิ่งเข้าสู่ตัว Evaporator หรือคอยล์เย็น (Indoor Unit) เพื่อดูดซับความร้อนที่อยู่ภายในห้องให้ออกมากับตัวน้ำยาแอร์ อุณหภูมิห้องก็จะลดลง/เย็นขึ้น ส่วนน้ำยาแอร์ก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นและกลายสภาพเป็นไอ/แก๊สโดยสมบูรณ์ แล้วถูกดูดออกมาสู่ภายนอกผ่านทางท่อฝั่ง Gas / Suction Line กลับเข้าสู่คอมเพรสเซอร์อีกครั้ง ก็จะเข้าสู่วงรอบใหม่ของการอัดฉีดน้ำยาเข้าสู่ระบบ เป็นไปแบบนี้จนกว่าคอมแอร์จะตัดการทำงาน (เมื่ออุณหภูมิห้องคงที่)

 

 

http://www.twc-aircenter.com/refrigerant.html

 

TWC ทวีทรัพย์ คูลลิ่ง คอร์ปอเรชั่น ผู้จัดจำหน่ายอะไหล่แอร์ อะไหล่แอร์บ้าน อะไหล่แอร์รถยนต์ น้ำยาแอร์ และเครื่องมือช่างระดับประเทศ
0 ความคิดเห็น | โพสต์ใน โปรโมชั่น โดย twcaircent_MHRIN twcaircent_MHRIN
TWC ทวีทรัพย์ คูลลิ่ง คอร์ปอเรชั่น ผู้จัดจำหน่ายอะไหล่แอร์ อะไหล่แอร์บ้าน อะไหล่แอร์รถยนต์ น้ำยาแอร์ และเครื่องมือช่างระดับประเทศ

ซื้อน้ำยาแอร์คุณภาพจากร้านเราสิครับ เรามีทั้งหน้าร้านจริงและหน้าร้านออนไลน์ที่ขายน้ำยาแอร์คุณภาพหลากหลายยี่ห้อ เช่น ORAFON, DBB, JH, HONEYCOOL, ICEBERG เป็นต้น และครบถ้วนด้วยประเภทน้ำยาแอร์บ้าน R32, R410A, R22 น้ำยาแอร์รถยนต์ R134A และน้ำยาแอร์ R404, R407 ด้วย รองรับทุกประเภทการใช้งานของเครื่องปรับอากาศ แอร์บ้าน แอร์รถยนต์ แอร์โรงงาน แอร์แขวน แอร์คอยล์เปลือย แอร์ฝังฝ้า ตู้เย็น/ตู้แช่ เราเป็นดีลเลอร์รายใหญ่ของน้ำยาแอร์แต่ละยี่ห้อที่กล่าวมา ทั้งยังมีสต็อกน้ำยาแอร์เป็นจำนวนมากไว้สำหรับทั้งขายส่งและขายปลีกทั่วประเทศ ทำให้ร้านเราสามารถทำราคาได้ถูก ขายน้ำยาแอร์ราคาถูกแต่มีคุณภาพ เป็นที่เชื่อถือจากช่างแอร์จำนวนมากที่มาซื้อกับเรา เราพร้อมบริการขายและจัดส่งสินค้าให้ท่านอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหนในประเทศไทย

 

เพียงติดต่อมาที่

Line ID : taweesub-ball

เบอร์โทร : 02-585-1995

Website : http://twc-aircenter.com

 

ท่านจะได้รับน้ำยาแอร์คุณภาพราคาถูก จัดส่งรวดเร็ว จากเราถึงมือท่านด้วยความจริงใจและใส่ใจ

 

 

 

twc-aircenter.com พร้อมบริการช่างแอร์ในราคาถูก

รางครอบท่อ TOTO มีครบทุกชนิดไว้บริการช่างแอร์ทุกท่านสำหรับงานติดตั้งแอร์บ้านทุกระดับ

ท่อตรง TD-65, TD-75

ฝาครอบ TW-65, TW-75

ข้อแยก 3 ทาง TT-65, TT-75

ข้องอเข้ามุม 90 องศา TC-65, TC-75

ข้องอโค้ง TK-65, TK-75

ข้องอ TN-65, TN-75

ข้อต่อข้ามคาน TIF-65, TIF-75

ข้อต่อติดฝ้า TA-65, TA-75

ข้อต่อตรง TJ-65, TJ-75

ท่อยืด TM-65, TM-75

 

 

รายละเอียดเพิ่มเติม Click >> http://www.twc-aircenter.com/electronic//memory-cards-electronic/toto.html

 

 

 

 

ลำดับ

ไฟกะพริบ (ครั้ง)

ประเภท

จุดเสีย

วิธีการแก้ไข

หมายเหตุ

1

กะพริบต่อเนื่อง

เครื่องตัวใน

การสื่อสารของเครื่องในบ้าน/นอกบ้าน รับสัญญาณผิดพลาด

ตรวจสอบการต่อสายไฟผิดและความผิดพลาดในสัญญาณแบบอนุกรม

-

2

ดวงไฟทุกดวงกะพริบพร้อมกัน

เครื่องตัวใน

การติดตั้งบานเกร็ดปรับทิศทางลมขึ้น-ลง

ตรวจสอบการติดตั้งบานเกร็ดปรับทิศทางลมขึ้น-ลง

-

3

สัญญาณไฟ D.S. PLASMA กะพริบ

เครื่องตัวใน

การควบคุมแหล่งจ่ายไฟของชุดกรองกำจัดกลิ่น D.S. PLASMA

ตรวจสอบการทำงานของชุดกรองกำจัดกลิ่น D.S. PLASM

-

4

1

เครื่องตัวนอก

1. ระบบไฟฟ้าของเครื่องนอกบ้าน
2. เทอร์มิสเตอร์ของเครื่องนอกบ้าน
3. ระบบควบคุมเครื่องนอกบ้าน

1.1 ต่อคอนเนคเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ใหม่
1.2 ตรวจสอบอินเวอร์เตอร์/คอมเพรสเซอร์
1.3 ตรวจสอบวาล์วปิด-เปิด
2. ตรวจสอบเทอร์มิสเตอร์ของเครื่องนอกบ้าน
3. เปลี่ยนแผ่นวงจรอินเวอร์เตอร์

เครื่องนอกบ้านไม่ทำงาน

5

1

เครื่องตัวนอก

ความถี่ลดลงจากระบบป้องกันกระแสไฟฟ้า

เครื่องปกติ แต่ควรตรวจสอบดังนี้
1. ตรวจดูว่าแผ่นกรองของเครื่องในบ้านอุดตันหรือไม่
2. ตรวจดูว่าสารทำความเย็นหมดหรือไม่
3. ตรวจดูว่าการไหลเวียนอากาศในเครื่องในบ้าน/นอกบ้านครบวงจรหรือไม่

เครื่องนอกบ้านทำงาน

6

2

เครื่องตัวใน

เทอร์มิสเตอร์สำหรับคอยล์เย็น/อุณหภูมิห้อง

ตรวจสอบเทอร์มิสเตอร์สำหรับคอยล์เย็น/อุณหภูมิห้อง

-

7

2

เครื่องตัวนอก

ระบบป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน

1. ต่อคอนเน็คเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ใหม่
2. ตรวจสอบอินเวอร์เตอร์/คอมเพรสเซอร์
3. ตรวจสอบวาล์วปิด-เปิด

เครื่องนอกบ้านหยุดทำงานและเริ่มเดินเครื่องใหม่ในอีก 3 นาทีซํ้าๆ กัน

8

3

เครื่องตัวใน

มอเตอร์พัดลมเครื่องในบ้าน

ตรวจสอบมอเตอร์พัดลมเครื่องในบ้าน

-

9

3

เครื่องตัวนอก

ระบบป้องกันอุณหภูมิด้านจ่ายสูงเกิน

1. ตรวจสอบวงจรทำความเย็นและปริมาณสารทำความเย็น
2. ตรวจสอบขดลวดและวาล์วของ LEV

เครื่องนอกบ้านหยุดทำงานและเริ่มเดินเครื่องใหม่ในอีก 3 นาทีซ้ำๆกัน

10

4

เครื่องตัวใน

ระบบควบคุมการทำงานเครื่องในบ้าน

เปลี่ยนแผ่นวงจรควบคุมอิเล็กทรอนิกส์เครื่องในบ้าน

-

11

4

เครื่องตัวนอก

ระบบป้องกันความร้อนสูงเกินสำหรับเทอร์มิสเตอร์วัดอุณหภูมิของครีบ/เทอร์มิสเตอร์วัดอุณหภูมิของแผ่นวงจร

1. ตรวจสอบรอบๆ เครื่องนอกบ้าน
2. ตรวจสอบทางเดินอากาศของเครื่องนอกบ้าน
3. ตรวจสอบมอเตอร์พัดลมของเครื่องนอกบ้าน

เครื่องนอกบ้านหยุดทำงานและเริ่มเดินเครื่องใหม่ในอีก 3 นาทีซ้ำๆกัน

12

4

เครื่องตัวนอก

ความถี่ลดลงจากระบบป้องกันอุณหภูมิด้านจ่าย

1. ตรวจสอบวงจรทำความเย็นและปริมาณสารทำความเย็น
2. ตรวจสอบขดลวดและวาล์วของ LEV
3. ตรวจสอบเทอร์มิสเตอร์สำหรับเครื่องนอกบ้าน

เครื่องนอกบ้านทำงาน

13

5

เครื่องตัวใน

ระบบไฟฟ้าของเครื่องนอกบ้าน

1. ตรวจสอบอินเวอร์เตอร์/คอมเพรสเซอร์
2. ตรวจสอบวาล์วปิด-เปิด

-

14

5

เครื่องตัวนอก

ระบบป้องกันแรงดันสูง

1. ตรวจสอบวงจรทำความเย็นและปริมาณสารทำความเย็น
2. ตรวจสอบวาล์วปิด-เปิด

เครื่องนอกบ้านหยุดทำงานและเริ่มเดินเครื่องใหม่ในอีก 3 นาทีซ้ำๆกัน

15

5

เครื่องตัวนอก

การป้องกันเทอร์มิสเตอร์วัดอุณหภูมิด้านนอก

ตรวจสอบเทอร์มิสเตอร์ของเครื่องนอกบ้าน

เครื่องนอกบ้านทำงาน

16

6

เครื่องตัวใน

เทอร์มิสเตอร์ของเครื่องนอกบ้าน

ตรวจสอบเทอร์มิสเตอร์ของเครื่องนอกบ้าน

-

17

6

เครื่องตัวนอก

การสื่อสารของเครื่องในบ้าน/นอกบ้าน รับสัญญาณผิดพลาด

ตรวจสอบการต่อสายไฟผิดและความผิดพลาดในสัญญาณแบบอนุกรม

เครื่องนอกบ้านไม่ทำงาน

18

7

เครื่องตัวใน

ระบบควบคุมเครื่องนอกบ้าน

เปลี่ยนแผ่นวงจรอินเวอร์เตอร์หรือแผ่นวงจรควบคุมอิเล็กทรอนิกส์เครื่องนอกบ้าน

-

19

7

เครื่องตัวนอก

ระบบป้องกันอุณหภูมิด้านจ่ายต่ำ

1. ตรวจสอบขดลวดและวาล์วของ LEV
2. ตรวจสอบวงจรทำความเย็นและปริมาณสารทำความเย็น

เครื่องนอกบ้านทำงาน

20

8

เครื่องตัวนอก

อาการผิดปกติของคอมเพรสเซอร์
ซิงโครนัส

1. ต่อคอนเน็คเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ใหม่
2. ตรวจสอบอินเวอร์เตอร์/คอมเพรสเซอร์

เครื่องนอกบ้านหยุดทำงานและเริ่มเดินเครื่องใหม่ในอีก 3 นาทีซ้ำๆกัน

21

8

เครื่องตัวนอก

ระบบป้องกัน PAM

PAM: พัลส์แอมพลิจูดมอดูเลชั่น

เครื่องไม่ได้ทำงานบกพร่อง ระบบป้องกัน PAM จะทำงานในกรณีต่อไปนี้
1. กำลังแรงดันไฟฟ้าตกลงฉับพลัน (ความบกพร่องของการจ่ายกำลังช่วงเวลานั้น)
2. เมื่อแหล่งจ่ายไฟมีแรงดันไฟฟ้าสูง

เครื่องนอกบ้านทำงาน

22 8 เครื่องตัวนอก วงจรตรวจจับ Zero Cross
(เฉพาะรุ่น MUY-**24/30)

เกิดจากกรณีดังต่อไปนี้
1. กำลังแรงดันไฟฟ้าตกลงฉับพลัน (ความบกพร่องของการจ่ายกำลังช่วงเวลานั้น)
2. ค่าบิดเบือนแรงดันไฟฟ้าปฐมภูมิ ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟ

เครื่องนอกบ้านทำงาน
23 9 เครื่องตัวนอก โหมดตรวจสอบอินเวอร์เตอร์

1. ตรวจสอบดูว่าต่อคอนเน็คเตอร์ของคอมเพรสเซอร์ ถูกต้องหรือไม่
2. ตรวจสอบอินเวอร์เตอร์/คอมเพรสเซอร์

เครื่องนอกบ้านทำงาน

24 10 เครื่องตัวนอก มอเตอร์พัดลมของเครื่องนอกบ้าน 1. ตรวจสอบมอเตอร์พัดลมของเครื่องนอกบ้าน
2. ตรวจสอบแผ่นวงจรอินเวอร์เตอร์

เครื่องนอกบ้านหยุดทำงานและเริ่มเดินเครื่องใหม่ในอีก 3 นาทีซ้ำๆกัน

25 11 เครื่องตัวนอก วาล์วหยุด/วาล์วปิด

ตรวจสอบวาล์วปิด-เปิด

เครื่องนอกบ้านไม่ทำงาน
26 12 เครื่องตัวนอก

ระบบควบคุมกระแสไฟฟ้าแต่ละเฟสของคอมเพรสเซอร์

ตรวจสอบอินเวอร์เตอร์/คอมเพรสเซอร์

เครื่องนอกบ้านหยุดทำงานและเริ่มเดินเครื่องใหม่ในอีก 3 นาทีซ้ำๆกัน
27 13 เครื่องตัวนอก ค่าแรงดันไฟฟ้า DC

1. ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟ
2. ตรวจสอบอินเวอร์เตอร์/คอมเพรสเซอร์

เครื่องนอกบ้านหยุดทำงานและเริ่มเดินเครื่องใหม่ในอีก 3 นาทีซ้ำๆกัน
28 14 เครื่องตัวใน อาการผิดปกติอื่น

1. ตรวจสอบวาล์วปิด-เปิด
2. ตรวจสอบวาล์ว 4 ทิศทาง
3. ยืนยันอาการผิดปกติ ในรายละเอียดการใช้ฟังก์ชันเรียกดูโหมดข้อขัดข้องสำหรับเครื่องนอกบ้าน

-
29 14 เครื่องตัวนอก เครื่องนอกบ้าน (อาการผิดปกติอื่น)

ดูรายละเอียดฟังก์ชันเรียกดูโหมดข้อขัดข้องของ เครื่องนอกบ้าน

เครื่องนอกบ้านไม่ทำงาน
30 16 เครื่องตัวนอก วาล์วสี่ทาง/อุณหภูมิของท่อก๊าซ

เปลี่ยนแผ่นวงจรอินเวอร์เตอร์

เครื่องนอกบ้านไม่ทำงาน เฉพาะรุ่น MSY
31 17 เครื่องตัวนอก ระบบท่อนํ้ายาทำความเย็นของเครื่องนอกบ้านผิดปกติ

1. ตรวจสอบการรั่วไหลของก๊าซที่จุดเชื่อมต่อท่อนํ้ายา เป็นต้น
2. ตรวจสอบวาล์วปิด-เปิด
3. ตรวจสอบวงจรทำความเย็นของเครื่องนอกบ้าน

เครื่องนอกบ้านไม่ทำงาน เฉพาะรุ่น MSY

 

ค้นหา > อะไหล่แอร์ >> http://www.twc-aircenter.com/electronic.html

 

0 ความคิดเห็น | โพสต์ใน ความรู้ทั่วไป โดย twcaircent_MHRIN twcaircent_MHRIN

Error Code ของแอร์/เครื่องปรับอากาศมิตซูบิชิ อีเล็คทริค มิสเตอร์สลิม (Mitsubishi Electric Mr.Slim)

สำหรับรุ่นธรรมดาที่ไม่ใช่อินเวอร์เตอร์ (Fix Speed/Non-Inverter)

 

ลำดับ

ไฟกะพริบ (ครั้ง)

ประเภท

จุดเสีย

วิธีการแก้ไข

หมายเหตุ

1

กะพริบต่อเนื่อง

เครื่องตัวใน

การสื่อสารของเครื่องในบ้าน/นอกบ้าน รับสัญญาณผิดพลาด

ตรวจสอบการต่อสายไฟผิดและความผิดพลาดในสัญญาณแบบอนุกรม

เฉพาะรุ่น wide&long

2

ดวงไฟทุกดวงกะพริบพร้อมกัน

เครื่องตัวใน

การติดตั้งบานเกร็ดปรับทิศทางลมขึ้น-ลง

ตรวจสอบการติดตั้งบานเกร็ดปรับทิศทางลมขึ้น-ลง

-

3

1

เครื่องตัวนอก

1. เทอร์มิสเตอร์ของเครื่องนอกบ้าน 
2. ระบบควบคุมเครื่องนอกบ้าน

1. ตรวจสอบเทอร์มิสเตอร์ของเครื่องนอกบ้าน
2. เปลี่ยนแผ่นวงจรไฟฟ้าควบคุมเครื่องนอกบ้าน

เครื่องนอกบ้านไม่ทำงาน (MU-D30/36VC)

4

2

เครื่องตัวใน

เทอร์มิสเตอร์สำหรับคอยล์เย็น/อุณหภูมิห้อง

ตรวจสอบเทอร์มิสเตอร์สำหรับคอยล์เย็น/อุณหภูมิห้อง

-

5

3

เครื่องตัวใน

มอเตอร์พัดลมเครื่องในบ้าน

ตรวจสอบมอเตอร์พัดลมเครื่องในบ้าน

-

6

3

เครื่องตัวนอก

ระบบป้องกันอุณหภูมิด้านจ่ายสูงเกิน

1. ตรวจสอบวงจรทำความเย็นและปริมาณสารทำความเย็น
2. ตรวจสอบขดลวดและวาล์วของ LEV

เครื่องนอกบ้านหยุดทำงานและเริ่มเดินเครื่องใหม่ในอีก 3 นาทีซ้ำๆกัน(MU-D30/36VC)

7

4

เครื่องตัวใน

ระบบควบคุมการทำงานเครื่องในบ้าน

เปลี่ยนแผ่นวงจรควบคุมอิเล็กทรอนิกส์เครื่องในบ้าน

-

8

4

เครื่องตัวนอก

ระบบป้องกันอุณหภูมิด้านจ่าย

1. ตรวจสอบวงจรทำความเย็นและปริมาณสารทำความเย็น
2. ตรวจสอบขดลวดและวาล์วของ LEV
3. ตรวจสอบเทอร์มิสเตอร์ของเครื่องนอกบ้าน

เครื่องนอกบ้านทำงาน (MU-D30/36VC)

9

5

เครื่องตัวนอก

ระบบป้องกันอุณหภูมิที่คอมเพรสเซอร์สูงเกิน

1. ตรวจสอบวงจรทำความเย็นและปริมาณสารทำความเย็น
2. ตรวจสอบวาล์วเปิด-ปิดสารทำความเย็น

เครื่องนอกบ้านหยุดทำงานและเริ่มเดินเครื่องใหม่ในอีก 3 นาทีซ้ำๆ กัน (MU-D36VC)

10

6

เครื่องตัวใน

1. เทอร์มิสเตอร์ของเครื่องนอกบ้าน
2. สารทำความเย็นมีปริมาณน้อย
3. แผ่นควบคุมวงจรอิเล็กทรอนิกของเครื่องนอกบ้าน (Deicer P.C. Board)

1. ตรวจสอบเทอร์มิสเตอร์ของเครื่องนอกบ้าน
2. เติมสารทำความเย็นเพิ่ม
3. เปลี่ยนแผ่นควบคุมวงจรอิเล็กทรอนิกของเครื่องนอกบ้าน (Deicer P.C. Board)

ข้อ1 เฉพาะรุ่น wide&long, MS-D30/36VD, MS-SE30VC ข้อ1, 2, 3 เฉพาะรุ่น MS-S24TV, MS-30TV, MS-S24UVII, MS-30UV

11

6

เครื่องตัวนอก

การสื่อสารของเครื่องในบ้าน/นอกบ้าน รับสัญญาณผิดพลาด

ตรวจสอบการต่อสายไฟผิดและความผิดพลาดในสัญญาณแบบอนุกรม

เครื่องนอกบ้านไม่ทำงาน (MU-D30/36VC)

12

7

เครื่องตัวใน

ระบบควบคุมการทำงานเครื่องนอกบ้าน

เปลี่ยนแผ่นวงจรควบคุมอิเล็กทรอนิกส์เครื่องนอกบ้าน

เฉพาะรุ่น wide&long

13

7

เครื่องตัวนอก

ระบบป้องกันอุณหภูมิที่ด้านจ่ายต่ำ

1. ตรวจสอบขดลวดและวาล์วของ LEV
2. ตรวจสอบวงจรของระบบสารทำความเย็นและปริมาณของสารทำความเย็น

เครื่องนอกบ้านทำงาน (MU-D30/36VC)

14

10

เครื่องตัวใน

การป้องกันอุณหภูมิด้านจ่ายต่ำ

1. ตรวจสอบขดลวดและวาล์วของ LEV
2. ตรวจสอบวงจรของระบบสารทำความเย็นและปริมาณของสารทำความเย็น

เฉพาะรุ่น MS-S24TV, MS-30TV

15

14

เครื่องตัวใน

จุดผิดปกติอื่นๆ

1. ตรวจสอบวาล์วปิด-เปิด
2. ตรวจสอบการรั่วของการต่อและปริมาณสารทำความเย็น
3. ตรวจสอบว่าพบปัญหาหรือไม่ หากพบปัญหาให้จัดเตรียมพื้นที่ว่างสำหรับถ่ายเทอากาศบริเวณรอบๆ เครื่องนอกบ้าน

4. ตรวจสอบสายต่อของมอเตอร์พัดลมเครื่องนอกบ้านว่าต่อถูกต้องหรือไม่
5. ตรวจสอบค่าความต้านทานของมอเตอร์พัดลมเครื่องนอกบ้านหากพบปัญหา ให้เปลี่ยนมอเตอร์พัดลมเครื่องนอกบ้าน

-

16

14

เครื่องตัวนอก

เครื่องนอกบ้าน (อาการผิดปกติอื่น)

ดูรายละเอียดฟังก์ชันเรียกดูโหมดข้อขัดข้องของ เครื่องนอกบ้าน

เครื่องนอกบ้านไม่ทำงาน (MU-D30/36VC)

 

ค้นหา > อะไหล่แอร์ >> http://www.twc-aircenter.com/electronic.html

 

0 ความคิดเห็น | โพสต์ใน ความรู้ทั่วไป โดย twcaircent_MHRIN twcaircent_MHRIN

การเลือกขนาดแอร์ให้เหมาะสม ตรงกับการกิจกรรมการใช้งานและขนาดห้องเป็นเรื่องสำคัญ ส่งผลโดยตรงต่อค่าไฟที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ถ้าเลือกขนาด BTU. เหมาะสมก็จะประหยัดค่าไฟได้มาก

 

การเลือกขนาด BTU ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง มีปัจจัยที่จะต้องพิจารณาประกอบเพิ่มเติม ได้แก่

1. จำนวนคนที่อยู่ในห้อง
2. ใช้ห้องในเวลากลางวันหรือกลางคืน (รวมทั้งห้องอยู่ในทิศที่รับแสงแดดโดยตรงหรือไม่)
3. กิจกรรมที่ทำในห้องคืออะไร เช่น ออกกำลังกาย/ฟิตเนส, ทานข้าว/ห้องอาหาร, ห้องประชุม ฯลฯ
4. เป็นห้องใต้หลังคาบ้าน/ชั้นดาดฟ้าอาคารที่ต้องรับแดดตอนกลางวันไหม (รวมทั้งมีฉนวนหรือหลังคากันความร้อนไหม)

ปัจจัยเหล่านี้ล้วนต้องนำมาพิจารณาเผื่อในการเลือกแอร์ที่มีขนาดบีทียูที่เหมาะสมด้วย

 

บางคนอาจจะคิดแค่ว่าห้องขนาดเล็ก (4x4 ตร.ม.) เอาแค่ 9000 BTU. ก็พอ โดยไม่สนว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นในห้องนั้นเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เมื่อใช้แอร์ในร้านอาหารขนาดเล็ก ความเย็นระดับ 9000 BTU. ก็จะไม่เพียงพอเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เปลืองไฟ และเสียค่าไฟแพงเกินไป เพราะคอมแอร์ไม่ค่อยตัดรอบการทำงานเมื่อห้องมีอุณหภูมิสูงขึ้น คอมแอร์จึงต้องเดินใหม่เพื่อคงอุณหภูมิห้องให้เย็นตามรีโมทที่ตั้งไว้

 

หรือบางคนอาจจะชอบติดแอร์ที่มีค่า BTU. มากเกินขนาดห้องและการใช้งานไปมาก ด้วยความมโนไปเองว่าจะได้แอร์เย็นฉ่ำๆ สะใจ อันนี้อาจจะได้จ่ายค่าไฟที่โอเวอร์ไปเช่นกัน เพราะยิ่งขนาดบีทียูสูงขึ้น มันก็กินไฟกินกระแสมากขึ้นตามขนาดบีทียูที่เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น

 

คราวนี้เรามาดูวิธีการคำนวณขนาด BTU. จะใช้ขนาดห้องในหน่วยตารางเมตร มาคูณกับตัวคูณที่กำหนด ซึ่งขึ้นอยู่กิจกรรมและการใช้งานส่วนใหญ่ ดังนี้


ยกตัวอย่างห้องขนาด 4x4 ตร.ม.


ตัวคูณที่นิยมใช้มีตั้งแต่

x800 สำหรับห้องนอน (ไม่โดนแดด)

BTU. ที่ได้จะเท่ากับ 4x4x800 = 12,800 BTU.

 

x900 สำหรับห้องนอน (โดนแดด) / ห้องนั่งเล่น / ห้องรับประทานอาหารภายในบ้าน

BTU. ที่ได้จะเท่ากับ 4x4x900 = 14,400 BTU.

 

x1100 สำหรับร้านค้าทั่วไป (ไม่โดนแดด) / ห้องทำงานในออฟฟิศ (ไม่โดนแดด+มีพนักงานหลายคน)

BTU. ที่ได้จะเท่ากับ 4x4x1,000 = 16,000 BTU.

 

x1200 สำหรับร้านค้าทั่วไป (ที่โดนแดด) / ห้องทำงานในออฟฟิศ (โดนแดด+มีพนักงานหลายคน) / ร้านทำผม / ร้านอาหาร

BTU. ที่ได้จะเท่ากับ 4x4x1,200 = 19,200 BTU.

 

x1400 สำหรับร้านอาหารที่มีการปรุงในห้องแอร์ เช่น ร้านสุกี้, ร้านปิ้งย่าง

BTU. ที่ได้จะเท่ากับ 4x4x1,400 = 22,400 BTU.

 

ตัวคูณเหล่านี้เป็นตัวเลขที่สามารถนำมาใช้ประมาณการในการเลือกขนาดแอร์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ได้ แต่ยังมีสิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมนอกเหนือจากนั้นก็คือเรื่องจำนวนคนและกิจกรรมที่ทำในพื้นที่ว่ามีความร้อนที่เกิดขึ้นจากคนและกิจกรรมมากน้อยแค่ไหน เช่น ในร้านอาหารที่มีการปิ้งย่าง เราอาจต้องประเมินจำนวนลูกค้าที่เป็นไปได้หรือจำนวนลูกค้าที่มากสุดที่ร้านรองรับได้ที่เข้ามากินปิ้งย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกัน และความร้อนจากการปิ้งย่างมีมากขนาดไหน เพื่อให้แอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพให้ความเย็นทั่วถึงแม้ในเวลาที่ต้องทำงานหนัก ดังนั้นตัวคูณ 1400 อาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่ใช้ในการคำนวณหาขนาดบีทียูแอร์สำหรับร้านอาหารปิ้งย่างก็เป็นได้

 

แค่นี้เราก็พอจะได้ขนาด BTU. สำหรับนำไปเลือกซื้อแอร์ได้อย่างเหมาะสมแล้วนะครับ แต่สิ่งสุดท้ายที่อยากฝากเพิ่มเติมก็คือ การหาขนาดบีทียูแอร์ที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญมากนะครับ ทั้งในแง่ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปรับอากาศเองในการทำความเย็นให้ทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ห้อง และค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้นตามมา ถ้าเราเลือกที่จะใช้ตัวคูณน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเพราะคิดว่าอยากเซฟตังค่าเครื่อง ขอประหยัดค่าเครื่องค่าติดตั้งในตอนแรกไปก่อนแล้ว สมมติว่าเมื่อเวลาผ่านไปนาน 10 ปี มีส่วนต่างค่าไฟที่เรียกเก็บในแต่ละเดือนที่แพงขึ้นจากการใช้แอร์ที่มี BTU.ต่ำกว่าความเหมาะสมอยู่ 100 บาททุกเดือน คุณลองคิดเล่นๆ ดูว่าผ่านมา 10 ปี เราต้องเสียส่วนต่างที่แพงขึ้นเท่าไหร่


ส่วนต่าง = 100(บ.)x12(ด.)x10(ปี) = 12,000 บาท


ส่วนต่างตามตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นเพียงแค่ตัวเลขสมมติขึ้นมาก็จริง แต่ถ้าคุณใช้งานแอร์หลายๆ เครื่องและใช้งานหนักทุกวันตลอดทั้งปี ลองจินตนาการดูสิครับว่าส่วนต่างที่ต้องจ่ายแพงเพราะความประหยัดค่าเครื่องเลือกซื้อแอร์บีทียูต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมาใช้ คุณต้องจ่ายมันเท่าไหร่?

 


 

ค้นหา > อะไหล่แอร์ >> http://www.twc-aircenter.com/electronic.html

ครบ ถูก ประหยัด ต้องที่ twc-aircenter.com

ความคิดเห็น | โพสต์ใน ความรู้ทั่วไป โดย twcaircent_MHRIN twcaircent_MHRIN
Desc